พะเยา ประชุมขับเคลื่อนมาตรการรับมือฤดูฝนเพิ่มเติมเพื่อรองรับสถานการณ์เอลนีโญ และการบริหารจัดการน้ำกว๊านพะเยา

พะเยา ประชุมขับเคลื่อนมาตรการรับมือฤดูฝนเพิ่มเติมเพื่อรองรับสถานการณ์เอลนีโญ และการบริหารจัดการน้ำกว๊านพะเยา

       นายเทวา ปัญญาบุญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนมาตรการรับมือฤดูฝนเพิ่มเติม เพื่อรองรับสถานการณ์เอลนีโญ และการบริหารจัดการน้ำกว๊านพะเยา ณ ห้องประชุมจอมทอง ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดพะเยา โดยมีนายวิวัฒน์ มณีอินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 1 รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นายอำเภอทุกอำเภอ องค์กรปกครองท้องถิ่น ชุมชนรอบกว๊านพะเยา ผู้แทนกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ อ่างเก็บน้ำแม่ปืม องค์กรผู้ใช้น้ำ คณะกรรมการลุ่มน้ำโขงเหนือและลุ่มน้ำยมในพื้นที่จังหวัดพะเยา รวมจำนวน 50 คน เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้
โดยที่ประชุมได้รับทราบเรื่องของสถานการณ์ปริมาณฝนปัจจุบันจะลดลง และเข้าสู่ฤดูหนาวในเดือนตุลาคม รวมทั้งสถานการณ์เอลนีโญที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลกระทบให้ ปริมาณฝนปี 2566 น้อยว่า ค่าเฉลี่ย และปริมาณน้ำเก็บกักอ่างเก็บน้ำต่างๆ มีน้อย โดยปรากฎการณ์เอลนีโญ มีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้นช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2566 จากนั้นมีกำลังอ่อนลงและต่อเนื่องไปจนถึงช่วงเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2567เรื่องของการบริหารจัดการน้ำจังหวัดพะเยาโครงการชลประทานพะเยาได้แจ้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนงดทำนารอบ 2 (นาปรัง) แล้ว 
        นอกจากนี้ที่ประชุมมีมติรับทราบมาตรการรองรับฤดูฝนที่ผ่านมา ประกอบด้วย 12 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 , มาตรการเพิ่มเติมการบริหารจัดการน้ำ 2 ปี เพื่อรองรับสถานการณ์เอลนีโญ , 3 มาตรการเพิ่มเติมรองรับเอลนีโญ ประกอบด้วย 1.การจัดสรรน้ำให้เป็นไปตามการจัดลำดับความสำคัญ ของคณะกรรมการลุ่มน้ำ 2.การควบคุมการเพาะปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง และ 3.การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ เรื่องของแผนการบริหารจัดการน้ำกว๊านพะเยา ช่วงเดือนตุลาคม 2566- กรกฎาคม 2567 ปัจจุบันปริมาณน้ำกว๊านพะเยา 34.028 ล้าน ลบ.ม. ล่าสุด ยังมีน้ำไหลเข้ากว๊านพะเยา และล้นออกฝายประมง ลงสู่แม่น้ำอิง ซึ่งการพิจารณายกฝายพับได้ เพื่อเก็บกักน้ำ จะพิจารณาจาก ปริมาณน้ำไหลเข้ากว๊านพะเยาเริ่มมีอัตราการไหลของน้ำเข้ากว๊านพะเยาเริ่มลดลง เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบพื้นที่ลุ่มต่ำรอบกว๊านพะเยา ทั้งนี้ความต้องการใช้น้ำ กว๊านพะเยา เพื่ออุปโภคบริโภค 7.8 ล้าน ลบ.ม. และ การระเหยของน้ำ 13.25 ล้าน ลบ.ม. คงเหลือน้ำต้นทุน 13.00 ล้าน ลบ.ม.ในห้วงหน้าแล้ง ปัจจุบันปริมาณน้ำอ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ และอ่างเก็บน้ำแม่ปืม มีปริมาณน้ำน้อย ไม่เพียงพอสำหรับการส่งน้ำสนับสนุน กว๊านพะเยาหากเกิดการขาดแคลนน้ำ ได้เหมือนปีที่ผ่านมา ซึ่งต้องสำรอง ไว้ใช้สำหรับการใช้น้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคในเขตเมืองพะเยา เป็นลำดับแรก โดยวางแผนเผื่อไว้ 2 ปี
     อย่างไรก็ตาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา มีข้อสั่งการให้ทุกภาคส่วนประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ เพื่อเตรียมการรับสถานการณ์ รวมถึงให้เกษตรกรเข้าใจสถานการณ์และงดปลูกข้าวนาปรัง ให้นายอำเภอบูรณาการหน่วยงานในพื้นที่ โดยเฉพาะความต้องการของประชาชน ตลาดรองรับสินค้าอาชีพทางเลือกทดแทน ให้โครงการชลประทานพะเยา ประเมินข้อมูลน้ำของอ่างเก็บน้ำ โดยรอบกว๊านพะเยา (เช่น อ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ อ่างเก็บน้ำแม่ปืม) โดยวางแผนบริหารน้ำในระยะ 2 ปี เพื่อเป็นการยืนยันให้ทราบชัดเจนว่า สถานการณ์โดยรวมมีปริมาณน้ำ ไม่สามารถจัดสรรน้ำช่วยเหลือกว๊านพะเยาได้ในช่วงเอลนีโญนี้ รวมถึงการเตรียมความพร้อมโครงการเร่งด่วนที่จะช่วยเหลือแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำไว้ หากรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุน จะได้มีความพร้อมในการเสนองบประมาณได้ทัน พร้อมทั้งสร้างการรับรู้แก่ผู้ใช้น้ำท้ายกว๊านพะเยาให้ทราบว่า น้ำในกว๊านไม่เพียงพอ สำหรับสนับสนุนการทำการเกษตรได้

 


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar